เมนู

ครอบงำ คือย่ำยี. บทว่า น อภิภิว คือ ไม่ย่ำยี. บทว่า พหลมตฺติกา
มีดินหนา คือมีดินหนาพูนขึ้นด้วยการฉาบทาบ่อย ๆ. บทว่า อลฺลาว-
เลปนา
มีเครื่องฉาบทาอันเปียก คือฉาบทาด้วยดินที่ไม่แห้ง. บทที่เหลือ
ในนิเทศนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบคาถาที่ 9

คาถาที่ 10


30) โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺขนานิ
สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต
กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละเพศแห่งคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้า
กาสายะออกบวช ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช
พึงทราบความของบทนี้อย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้วครองผ้ากาสายะ.
บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 10
จบอรรถกถาตติยวรรค

H1>อรรถกถาจตุตถวรรค

คาถาที่ 1


31 ) รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล
อนญฺญโปสี สปทานจารี
กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่กระทำความติดใจรส
ทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ไม่เลี้ยงผู้อื่น มี
ปกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ผูกพันใน
ตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 1 แห่งจตุตถวรรค ดังต่อไปนี้
บทว่า รเสสุ ในรสทั้งหลาย คือในของควรลิ้มมีรสเปรี้ยว หวาน
ขม เผ็ด เค็ม เฝื่อน ฝาด เป็นต้น. บทว่า เคธํ อกรํ ไม่ทำความติดใจ
คือไม่ทำความติดใจ คือความพอใจ. ท่านอธิบายว่า ไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น
บทว่า อโลโล ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล คือไม่วุ่นวายในรสวิเศษ
อย่างนี้ว่า เราจักลิ้มรสนี้ ดังนี้.
บทว่า อนญฺญโปสี ไม่เลี้ยงผู้อื่น คือไม่มีสัทธิวิหาริกที่จะต้อง
เลี้ยงเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า ยินดีเพียงทรงกายอยู่ได้. อีกอย่างหนึ่ง
ท่านแสดงว่า แมลงผึ้งซึ่งติดในรสทั้งหลาย (ของดอกไม้) ในอุทยานใน
กาลก่อน เป็นผู้มีตัณหา เลี้ยงดูผู้อื่น (คือลูกอ่อนในรัง) ฉันใด พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เป็นเช่นนั้น ละตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ทำความ